วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทาน คือ ??



คำว่า "ทาน" มี 3 ระดับด้วยกัน

1. อามิสทาน คือการให้ตามวัตถุสิ่งของทั่ว ๆ ไป


2. ธรรมทาน การให้ธรรมะเป็นทาน การให้ความรู้เป็นทาน การให้คำแนะนำเป็นทาน
แม้แต่การให้กำลังใจก็เป็นธรรมทาน
3 อภัยทาน อภัยทานมี 2 ความหมาย

การที่เราเป็นคนดี ไปที่ไหนไม่มีใครกลัวเราเลย เราเป็นบุคคลแห่งความปลอดภัย เป็นบุคคลแห่งสันติภาพ อย่างนี้ก็เป็นอภัยทานในแง่บวก ต่อไปอภัยทานในแง่ลบ ก็หมายความว่า ต่อเมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดเรา เกิดทำอะไรผิดพลาดขึ้นมา แล้วเราเห็นว่าเป็นเรื่องที่น่าจะอภัยได้ เราก็ยกโทษให้ อย่างนี้ก็เป็นอภัยทาน

มนุษย์ควรจะทำทานให้ครบทั้ง 3 ขั้น

ทั่วๆ ไป ก็คือทำอามิสทาน ก็ให้ปันสิ่งของแก่กันและกัน มีน้อยให้น้อย มีมากให้มาก หลักในการให้ปันสิ่งของมีลักษณะอยู่อย่างหนึ่งที่สำคัญมาก ให้เมื่อผู้รับเขาพร้อมจะรับ ถ้าเขาไม่พร้อมจะรับ แล้วเราไปให้ มันจะกลายเป็นการยัดเยียดให้ ของที่มีคุณค่าแต่ถ้าให้ไม่ถูกกาลเทศะกลายเป็นของที่ไม่มีค่าได้มั๊ย คนที่มีพร้อมอยู่แล้วเราเอาไปให้เค๊า เค๊าจะเห็นคุณค่ามั๊ย เค๊าก็ไม่เห็นคุณค่า คนที่ไม่มีเงิน เราเอาเงินแค่ 10 บาทไปให้ เค๊าดีอกดีใจ เพราะอะไร เพราะเขาไม่มี แต่คนที่เค๊ามีเป็นร้อย เราให้ 10 บาท เค๊าจะเห็นคุณค่าของเงินเรามั๊ย เค๊าก็ไม่เห็น เราชอบทุเรียนมาก ๆ เลย แต่เพื่อนเราไม่ชอบ เราเอาทุเรียนไปยัดเยียดให้เพื่อน แทนที่เพื่อนจะชอบ เพื่อนกับรู้สึกไม่ดีใช่มั๊ยฉะนั้นการให้ปันวัตถุสิ่งของต้องให้ เมื่อผู้รับเค๊าพร้อมจะรับ

แล้วก็ธรรมทานอย่านึกว่าธรรมทานเป็นเรื่องของพระนะ คนทุกคนให้ธรรมทานได้ เพราะธรรมทานหมายถึงว่าการให้ความรู้ ใคร ๆ ก็มีความรู้ มีความรู้เรื่องไหน ก็ให้ความรู้เรื่องนั้น ให้คำแนะนำที่ดีก็เป็นธรรมทาน ให้กำลังใจที่ดีกับเพื่อนร่วมงานก็เป็นธรรมทาน แม้แต่มีคนมาถามทางแล้วเราบอกทาง นี่ก็เป็นธรรมทาน จะเห็นว่าเป็นเรื่องของคนทุกคน

แล้วอภัยทานถ้าเรามีศีลมีธรรมอยู่แล้ว ทั้งชีวิตเราก็ได้ให้อภัยทานตลอดเวลา นอกจากนั้นแล้วอภัยทานในแง่ลบก็ควรปฏิบัติ เราอยู่กับใครเกิดผิดพลาด ด้วยตั้งใจก็ดี ไม่ได้ตั้งใจก็ดี ถ้ามันไม่หนักหนาสาหัสเกินไป ยกโทษให้ได้มั๊ย ถ้าทำได้ก็ยกโทษให้ไป ทำอย่างนี้เรียกว่า ปฏิบัติทานให้ครบ 3ระดับ 3ขั้น

อย่างอภัยทานขอยกตัวอย่างนิดนึง คือพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา พระองค์ทุก ๆ ปี จะให้อภัยทานนักโทษ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ อย่างปีนี้ในมงคลวโรกาสที่มีงานเฉลิมฉลองครองศิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี คนเราไม่ค่อยให้ความสนใจ คนไทยไม่ค่อยให้ความสนใจประเด็นนี้ แต่แท้ที่จริง ปีนี้พระองค์ท่าน พระราชทานอภัยให้นักโทษ 25,000 คน นี่ก็เป็นอภัยทานเหมือนกัน

อาตมาภาพจึงคิดว่า ถ้าเราให้ อามิสทานแล้ว ให้ธรรมทานแล้ว ยังไม่เคยฝึกให้อภัยทาน ก็น่าจะลองปฏิบัติดู เพราะว่าการให้อภัยทานเป็นการปลดปล่อยจิตใจตัวเองให้เป็นอิสระ

อาตมาภาพเคยมีลูกศิษย์ อยู่คนหนึ่ง ทำงานอยู่ในแวดวงสื่อมวลชน แล้วเค้าทุกข์มาก ทุกข์เพราะเที่ยวทะเลาะไปกับคนนั้นคนนี้ มาดูรายชื่อแล้วเป็นสิบคน เค้าบอกว่าทำไมไปที่ไหนมันทุกข์ เพราะแค้นไง มีอยู่วันหนึ่งลุกขึ้นมา เค้าเอารายชื่อคนที่เค้าแค้นมานั่งไล่ดู แล้วโทรไปขอโทษทีละคน เค้าบอกว่า พอเค้าทำอย่างนี้ปุ๊บ เย็นวันนั้นเค้าบอกว่าตัวมันเบาเลย เพราะว่าทุกคนที่เค้าโทรไปขอโทษ ทุกคนเค้าบอกไม่ติดใจเอาความ มนุษย์เนี่ย พอในใจมันไม่มีติดค้างอะไรกับใครมันสุขมั๊ย เค้าบอกว่าเค้ามีความสุข เหมือนได้ปลดปล่อยตัวเอง เป็นลูกโป่งที่หลุดจากมือคนถือ มันลอยขึ้นฟ้าเลย นั่นแหละคืออานิสงฆ์ของอภัยทาน

จิตใจตัวเองเป็นอิสระ อิสระจากความโลภ ความโกรธ ความหลง ความแค้น คนที่จิตใจเต็มไปด้วยอภัยทาน ก็ปลอดโปร่งโล่งเบา มีความสุข เห็นมั๊ยว่าถ้าอภัยทานเป็น ก็มีความสุขเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในฐานะที่เราเป็นชาวโลก อย่าว่าแค่เป็นชาวพุทธเลยนะ เป็นชาวโลก ฝึกให้ครบ 3ขั้นตอน คือ อามิสทาน ให้วัตถุ ธรรมทาน ให้ธรรมะ แล้วก็อภัยทาน ให้การยกโทษให้กับเพื่อนมนุษย์ด้วย






แหล่งที่มา :  ถอดเสียงจาก mp3 ;   พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี




บ้านอิ่มบุญ

บ้านอิ่มบุญ
กลับหน้าหลัก